ในบทความนี้ เราจะชวนให้คุณดู วิธีใช้ Google Analytics4 ให้ได้ประโยชน์ มีรายงาน Report ข้อมูล อะไรบ้างที่เป็น ประโยชน์ต่อนักการตลาดออนไลน์ นักกลยุทธ์ นักวางแผนแคมเปญออนไลน์ แต่ละ เมนูหลัก ให้ข้อมูลอะไรบ้างที่มือใหม่ควรรู้
Google Analytics4 Web Analytics Version ใหม่ล่าสุดของ Google เปิดใช้งานเมื่อ ตุลาคม 2565
วิธีเข้าไปดูรายงานผล Google Analytics4 Report เริ่มจากการที่คุณ Login เข้า Google Analytics Account
หากคุณยังไม่มี Google Analytics4 Account สำหรับเว็บไซต์คุณ คุณสามารถสร้างได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย คลิกอ่าน วิธีสร้างและติดตั้ง Google Analytics4 Account ฟรี
หากคุณไม่ได้เป็นเจ้าของ Google Analytics 4 คุณต้องให้แน่ใจว่า Email ตัวที่คุณ Login นั้น มีสิทธิ์เข้าถึง รายงานได้ ซึ่งสิทธิ์การเข้าสามารถขอให้ทาง Google Analytics Admin เป็นคน grant access ให้ ตาม ระดับที่ต้องการได้ ขั้นต่ำสุด คือ ระดับ Viewer สามารถดูรายงานผลได้
หลังจาก Login Google Analytics Account ได้เรียบร้อย คุณจะเห็นเมนูด้านซ้ายมือ หากคุณไม่เห็นชื่อแถบ ให้คุณเอาเม้าท์คลิกตรง ไอคอนรูปบ้าน ส่วนนี้เราเรียกว่าเป็น เมนูหลัก
Google Analytics 4 Report Interface ประกอบ เมนูหลัก 4 ส่วน
- เมนูหลัก หน้าแรก (Home)
- เมนูหลัก รายงาน (Report)
- เมนูหลัก การสำรวจ (Explore)
- เมนูหลัก การโฆษณา (Advertising)
เรามาไล่ดูทีละส่วน
1.เมนูหลัก หน้าแรก (Home)
เป็นหน้าแสดงข้อมูลแบบภาพรวม ผลเป็นการ์ด 2 การ์ด เพื่อให้เห็นเทรนไลน์คร่าวๆ ตามรูป
Home Section
1.1 การ์ดแรก จะแสดงข้อมูลภาพรวมของรายงานผลคนเข้าเว็บไซต์ เปรียบเทียบกับระยะเวลาก่อนหน้า ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้คุณเห็นภาพรวม เปรียบเทียบกับช่วงเวลา ให้คุณได้เห็นกราฟแสดงเทรนด์ วันไหน มีผู้ใช้ลดลง วันไหน มีผู้ใช้ มากขึ้น เพื่อให้คุณไปดูข้อมูลเชิงลึกขึ้น ว่าเกิดจากปัจจัยอะไร
ข้อมูล ผู้ใช้ (user) คือ จำนวนผู้ใช้ แสดงข้อมูลย้อนหลัง 7 วันล่าสุด เปรียบเทียบ ระยะเวลาก่อนหน้า
ข้อมูล จำนวนเหตุการณ์ (event) จำนวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ข้อมูล เหตุการณ์สำคัญ (key event) จำนวนเหตุการณ์ที่สำคัญ ที่เป็นตัววัดหลักทางธุรกิจ เช่น จำนวนครั้ง purchase
ข้อมูล ผู้ใช้ใหม่ (new user) แสดงข้อมูลจำนวนผู้ใช้งานที่เข้ามาเป็นครั้งแรก ในระยะเวลาย้อนหลัง 7 วัน
หากคุณต้องการให้แสดงผลกราฟที่ตัววัดตัวไหน สามารถคลิกที่ข้อมูลตัววัดได้ ปกติ default จะเป็นกราฟข้อมูล จำนวนผู้ใช้ (user)
1.2 การ์ดสอง แสดงข้อมูล จำนวนผู้ใช้ที่เข้าเว็บไซต์คุณ ใน 30 นาทีที่ผ่านมา หากคุณต้องการดูข้อมูลละเอียดขึ้น คุณสามารถคลิก ดูแบบเรียลไทม์ (Report Real Time)
1.3 ข้อมูล Recently Accessed คือ ข้อมูลรายงาน report ที่คุณได้ดูรายงานล่าสุด ตัวไหนบ้าง
1.4 คำแนะนำเพิ่มเติมให้สำหรับคุณ จากในรูปภาพ แนะนำข้อมูล ชื่อเว็บเพจที่คนเข้าเว็บไซต์ หน้าไหนเพิ่มขึ้น ผู้ใช้มาจากประเทศไทย มีสัดส่วนลดลง 17.4% จำนวนการเข้าชม จาก ช่องทาง Google Search ลดลง 8.1%
2. เมนูหลัก รายงาน (Report) ส่วนนี้เป็นส่วนที่ผู้เขียนใช้มากที่สุด เป็น standard report ที่เราสามารถเข้าไปดูผลรายงานได้เลย ไม่ต้องเลือกกำหนดข้อมูลเอง
ส่วนแรก คือ ภาพรวมรายงาน (report snapshot)
จะแสดงผลเป็นการ์ดที่ให้ข้อมูลมากกว่า หน้าแรก (home)
2.1 การ์ดแรกจะเป็นข้อมูลผู้ใช้ภาพรวม เป็นการ์ดเดียวกับที่แสดงผลในหน้าแรก แต่จะมีข้อมูลเพิ่ม คือ เวลาในการมีส่วนร่วมโดยเฉลี่ย และ ข้อมูลรายได้ทั้งหมด จากข้อมูลตัวอย่างไม่มีข้อมูล เพราะยังไม่มีการกำหนดค่ารายได้ในบัญชีนี้
2.2 การ์ดถัดไปจะเป็น ข้อมูลเรียลไทม์ ซึ่งจะเป็น ข้อมูลที่เป็น menu ที่ 2 ใน ส่วนเมนู รายงาน (report)
ข้อมูล เรียลไทม์ (Realtime) คุณสามารถดูผลย้อนหลังได้ ภายใน 30 นาที และ 5 นาที เรียลไทม์ เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ เพื่อใช้ตรวจสอบผล
ใช้เช็คว่า ติดตั้ง tag สำเร็จหรือเปล่า หากทดลองคลิกที่หน้าเว็บแล้ว มีข้อมูลเข้าแสดงว่าติดตั้งได้เรียบร้อย รวมถึงใช้ตรวจสอบข้อมูล เหตุการณ์ (event) หรือ เหตุการณ์สำคัญ (key event)
ใช้เพื่อเช็คผลการทำ marketing campaign ขึ้นสำเร็จ ข้อมูล UTM tracking เข้าเรียบร้อยดีหรือไม่
2.3 รายงาน Lifecycle เมนู Report ประกอบไปด้วย
2.3.1 รายงาน Lifecycle – การกระทำ (acquisition) ให้ข้อมูลรายงานการได้คนเข้ามาที่เว็บไซต์ ใช้เพื่อดูว่าช่องทางไหน แคมเปญไหนได้ดีสุด ควรจัดสสรงบค่าโฆษณาไปลงช่องทางไหนนี้ เพื่อให้ตอบโจทย์ธุรกิจ marketing campaign มี รายงาน Report 2 ตัวหลัก
2.3.1 รายงานช่องทางที่ส่งผู้ใช้ใหม่ (First User – New User ) เข้ามาเว็บไซต์ มาจากช่องทางไหนบ้าง เช่น paid search , organic search , referral , paid social , organic social เป็นต้น ผู้ใช้ใหม่มาจากชื่อแคมเปญการตลาดแคมเปญไหนบ้าง
2.3.2 รายงานช่องทางไหนที่มีการเข้าชม (Session) มากที่สุด มาจากช่องทางไหนบ้าง เช่น direct , paid search , referral , organic search , paid social เป็นต้น การเข้าชมมาจากแคมเปญการตลาดแคมเปญอะไรบ้าง
2.4 รายงาน Lifecycle – การมีส่วนร่วม (engagement) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในเว็บไซต์หลังจากพาผู้ใช้เข้าชมเว็บไซต์แล้ว มีพฤติกรรมหรือกระทำอะไรบ้างในเว็บไซต์
2.4.1 รายงาน กิจกรรม (event) แสดงข้อมูลกิจกรรม (event) ที่ได้ติดตั้งในเว็บไซต์ ในเว็บมี event อะไรบ้าง เช่น scroll, click ทั้งแบบที่เป็น auto event , enhance measurement , recommended และ custom event จะแสดงผลเป็นจำนวนครั้ง และ จำนวนผู้ใช้
2.4.2 รายงาน หน้าและหน้าจอ (page and screen) แสดงรายละเอียดแต่ละหน้ามีการเข้าชมกี่ครั้ง หน้าไหนเป็นหน้าที่มีจำนวนการเข้าชมมากที่สุด ถ้าเทียบกับ report ใน google analytics version เก่า คือ หน้าที่แสดง page view จำนวนครั้งที่หน้าเว็บโหลด ช่วยให้เราได้รู้ว่า หน้าไหนเป็นหน้ายอดนิยม คอนเทนต์ไหนคนอ่านจบ เป็นต้น เป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้ปรับ content strategy ของเว็บไซต์ได้
2.4.3 รายงาน หน้า Landing Page เป็นหน้าเว็บแรกที่ผู้ใช้เข้าถึง หน้า Landing Page หน้าไหนเป็นที่นิยมมากที่สุด ใช้เพื่อวิเคราะห์ผลการทำแคมเปญได้
2.5 รายงาน การสร้างรายได้ แสดงข้อมูลรายงานสำหรับ e-commerce เว็บไซต์
2.6 รายงาน การรักษาผู้ใช้ (retention)
2.7 รายงาน Search Console แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ
- ผลติดอันดับ google organic search จะแสดงข้อมูล คีย์เวิร์ด ที่แสดงผลในหน้าผลการค้นหา จำนวนคนคลิก ค่าอัตราการคลิก (CTR) ตำแหน่งที่เว็บเพจแสดงผลในหน้าผลการค้นหา
- หน้าเว็บที่ติดอันดับ ข้อมูลส่วนนี้จะแสดงก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมระหว่าง Google Analytics Account กับ Google Search Console
2.8 รายงาน ผู้ใช้ (user) แสดงข้อมูล Demographic ที่ตั้ง ภาษา เพศ อายุ ความสนใจ , ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี เช่น เบราว์เซอร์ อุปกรณ์ แพลดฟอร์ม ระบบปฎิบัติการ เป็นต้น คุณสามารถนำข้อมูลในส่วน user ไปใช้เพื่อการทำ audience targeting สำหรับการทำ paid media advertising หรือปรับคอนเทนต์ รวมถึง ประสบการณ์ผู้ใช้งานบนเว็บได้
3. เมนูหลัก การสำรวจ (explore)
เป็นรายงานผลแบบที่คุณสามารถ customize report เองได้ตามความต้องการ เป็นการทำ Report เชิงลึก มีทั้งแบบ blank คุณกำหนดสร้างข้อมูลรายงานเอง และ แบบ Template มีให้เลือก 7 Templates ตามรูปแบบการใช้งาน
Google Analytics 4 Explore Template มี 7 แบบ
3.1 รูปแบบอิสระ (Free Form) แสดงข้อมูลในรูปแบบของตาราง
3.2 การสำรวจ (Funnel Exploration) จะแสดงข้อมูลเป็น funnel เช่น purchase funnel ทำให้เราเห็นภาพ customer journey ที่เดินทางบนเว็บไซต์คุณ ไปจนถึง หน้าที่สำคัญกับธุรกิจของคุณ เช่น complete purchase ทำให้เห็น Abandon Rate ว่าลูกค้า Drop Off ไป ตรงจุดไหน นำไปใช้เพื่อปรับประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีขึ้น
3.3 การสำรวจเส้นทาง (Path Exploration) แสดงข้อมูลเส้นทางการเริ่มต้นของผู้ใช้ที่เข้าเว็บไซต์คุณ เดินทางไปหน้าถัดไป หรือ มีปฎิสัมพันธ์บนเว็บ ส่วน การกระทำไหนบ้าง (Event) นอกจากนี้ คุณยังสามารถดูข้อมูลจากจุดจบ ending point บนเว็บได้ เช่น เลือกหน้าสิ้นสุด complete action เพื่อดูข้อมูลการเดิมทางก่อนหน้าที่จะมาถึงจุดจบได้
3.4 กลุ่มที่ซ้อนกัน (Segment Overlap) แสดงข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ Segment / Audience ว่าทับกันมากน้อยแค่ไหน
3.5 โปรแกรมสำรวจผู้ใช้งาน (User Explorer) แสดงข้อมูลระดับ Used ID
3.6 การสำรวจกลุ่มประชากรตามรุ่น (Cohort Exploration) แสดงข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้แบบเป็นกลุ่ม
3.7 อายุการใช้งานของผู้ใช้ (User Lifetime ) แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ customer lifetime value ของคุณ
4. เมนูหลัก การโฆษณา (advertising)
เป็นรายงานแสดงผลที่เกี่ยวกับผลการทำโฆษณา ดูแคมเปญ Attribution การให้เครดิตแคมเปญ
สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่ได้ Google Analytics Account ต้องการให้ภาพขึ้น ลอง ติดตั้ง Google Analytics Demo Account ได้นะคะ จะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้นค่ะ หรือลอง สร้าง Google Analytics Account ของตัวเอง
อย่างที่เราได้ทราบกัน Google Analytics 4 เป็น New Version ทางทีม Google ก็ยังอัพเดท รูปแบบ รายงานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง คุณสามารถ ติดตามอัพเดท ข่าวสาร What is new in Google Analytics จาก Google Support จะได้ไม่พลาดข้อมูลที่เป็นประโยชน์
0 Comments